ทำความรู้จักยาแก้แพ้ คือยาอะไร มีกี่แบบ

เมื่ออากาศเปลี่ยนไม่ว่าจะร้อน ฝนตก หรือหนาว หากเรามีอาการจาม น้ำมูกไหล คันจมูก คันตา หลายๆคนก็จะเข้าใจเลยว่าเกิดจากอาการแพ้ ไม่ว่าอากาศเปลี่ยน ขนสัตว์ อาหาร เกสรดอกไม้ “ยาแก้แพ้” กลายเป็นฮีโร่ที่ช่วยบรรเทาอาการและกลายเป็นยาสามัญประจำบ้านไปเสียแล้ว

ทำความรู้จักยาแก้แพ้ 

ยาแก้แพ้” (Antihistamine) หรือที่อาจรู้จักในชื่อ ยาแก้ภูมิแพ้อากาศ คือ ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งสารฮิสตามีน (Histamine) ที่หลั่งออกมามากกว่าปกติ ในเวลาที่ร่างกายได้รับสารกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เมื่อฤทธิ์ยาเข้าไปทำให้การทำงานของสารฮิสตามีนลดลง ก็จะส่งผลให้อาการแพ้ต่างๆ หายไป 

ยาแก้แพ้มีกี่ประเภท  

โดยทั่วไป ยาแก้แพ้มี 2 แบบหลักๆ ดังนี้ 

1. ยาแก้แพ้แบบง่วงนอน 

เป็นยาแก้แพ้แบบดั้งเดิม สามารถผ่านเข้าสู่สมองได้และมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้เกิดอาการง่วงซึมหลังทานยา บางคนอาจได้รับผลข้างเคียงของยา มีอาการ มือและเท้าบวม ตัวบวม ปัสสาวะคั่ง ท้องผูก เนื่องจากร่างกายดูดซึมฤทธิ์ของตัวยามากเกินไป ทั้งยังออกฤทธิ์เร็ว และ หมดฤทธิ์เร็ว ทำให้เราต้องทานยา วันละหลายเม็ดอีกด้วย ยาแก้แพ้ในกลุ่มนี้ เช่น ยาคลอเฟนิรามีน, ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine), ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate), บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine), และไฮดรอกไซซีนเป็นต้น  

2. ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงนอน 

ง่วง เป็นยาแก้แพ้แบบใหม่ ที่ผ่านเข้าสู่สมองค่อนข้างน้อย ทำให้ไม่ง่วงซึม หรือง่วงน้อยกว่าแบบดั้งเดิม อีกทั้งผลข้างเคียงก็น้อยกว่าด้วย ตัวยาจะออกฤทธิ์ช้ากว่าตัวดั้งเดิม แต่ก็หมดฤทธิ์ช้า ทำให้ทานยาเพียงหนึ่งหรือสองเม็ดต่อวันเท่านั้น โดยยาแก้แพ้ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น บิลาสทีน (Bilastine), เซทิริซีน, เดสลอราทาดีน (Desloratadine), ลอราทาดีน (Loratadine), เฟโซเฟนาดีน (Fexofenadine) และเลโวเซทิริซีนเป็นต้น  

ยาแก้แพ้แบบเม็ดและแบบน้ำต่างกันอย่างไร 

ยาแก้แพ้แบบเม็ด เป็นประเภทยอดนิยมที่มีคนรู้จักมากที่สุด เหมาะสำหรับเด็กโตที่สามารถทานยาเม็ดได้แล้วและผู้ใหญ่ ยาแก้แพ้แบบเม็ดทานง่าย และหาซื้อได้ทั่วไป  

ยาแก้แพ้แบบน้ำ เป็นยาที่เหมาะสำหรับเด็กเล็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เด็กโตที่ยังไม่สามารถทานยาเม็ดได้ หรือผู้ใหญ่ที่มีปัญหาในการกลืนยาเม็ด โดยตัวยาได้ถูกออกแบบให้มีลักษณะคล้ายน้ำเชื่อม มีความหวาน ทานได้ง่าย 

ยาแก้แพ้ควรใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น ซึ่งยามีทั้งออกฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนแลไม่ง่วงนอน การเลือกใช้ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล หากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา