โรครองช้ำ โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

โรครองช้ำ เป็นหนึ่งในโรคใกล้ตัว ที่หลายคนมักจะมองข้าม ซึ่งอาการของโรคดังกล่าวจะเกิดจากการรองรับการกระแทกของฝ่าเท้า และอุ้งเท้า ในขณะที่เรามีการยืน เดิน หรือกิจกรรมกที่มีการลงน้ำหนักไปที่บริเวณฝ่าเท้า ที่จะส่งผลโดยตรงต่อการทำให้อุ้งเท้าของเราแบนราบกับพื้น และแรงกระแทกที่เกิดมานั่นเอง ที่จะทำให้เกิดแรงตึงตัวระหว่างส้นเท้ามากขึ้นจนเกิดเป็นพังผืดหรือได้รับความเสียหาย ซึ่งจะส่งผลให้มีการอักเสบสะสมบริเวณดังกล่าวขึ้นมาเรื่อย ๆ จนเกิดการฉีกขาดของเอ็นฝ่าเท้า

โดยที่สำหรับอาการอักเสบของพังผืด ที่จะเกิดขึ้นมาตรงบริเวณใต้ฝ่าเท้านั้น อาการส่วนใหญ่ที่พบเจอได้บ่อย ๆ นั้น นั่นก็คือ จะมีมีอาการปวด และบวม อยู่ตรงบริเวณส้นเท้า หรือตรงบริเวณแนวตามแถบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าที่เกิดขึ้นมา ซึ่งอาการของโรคดังกล่าวจะส่งผลที่จะทำให้รู้สึกเจ็บแปล๊บ ๆ ขึ้นมา โดยเฉพาะในเวลาที่เพิ่งตื่นนอน โดยที่ความรู้สึกเจ็บดังกล่าวจะให้ความรู้ถึงเหมือนโดนอะไรมาแทงบริเวณส้นเท้า หรือความรู้สึกที่เหมือนโดนของอะไรร้อน ๆ มาจี้ตรงบริเวณดังกล่าวนั่นเอง แต่อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าหากได้เดิน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้คลายออก ซึ่งก็อาจจะกลับมาปวดได้อีกครั้ง ในช่วงก่อนนอน ซึ่งอาการเจ็บดังกล่าว ก็จะเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งถือว่าสร้างความลำบาก และลำคาญเป็นอย่างมาก

และสำหรับสาเหตุหลัก ๆ ที่จะทำให้ฝ่าเท้าของเรานั้น เกิดโรครองช้ำ โดยเฉพาะบุคคลที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นมาจากการใช้งานข้อเท้าที่หนักจนเกินไป ไม่ว่าจะเกิดขึ้นมาจากการเดินมาก ๆ หรือวิ่งมากจนเกินไป และสำหรับปัญหาที่พบเจอบ่อยสำหรับผู้หญิงนั่นก็คือการใส่รองเท้าส้นสูงมากจนเกินไป และใส่ในจำนวนเวลาที่นานจนเกินไป และรวมไปถึง จะพบเจอเป็นอย่างมากสำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีกระดูกรูปเท้าผิดปกติ อย่างเช่น อุ้งเท้าแบน หรือโก่งมากเกินไป และรวมไปถึงการออกกำลังกายบางประเภท ที่จะส่งผลโดยตรงให้เกิดโรครอช้ำเกิดขึ้นมาได้ อาทิ การเต้นแอโรบิค การปั่นจักรยาน

การรักษา

สำหรับการรักษาขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องที่สุดนั้น เริ่มแรกก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับเข้ารับการรักษาโรครองช้ำที่เกิดขึ้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องทำการวินิจฉัยก่อนว่า โรคที่เกิดขึ้นมานั้น ไม่ได้เป็นโรคอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงกัน เพราะโรคดังกล่าวมักจะอาการต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกัน อย่างเช่น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งจะทำให้เกิดการปวดบริเวณฝ่าเท้าได้เช่นกัน แต่สำหรับอาการของโรคดังกล่าว ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการอื่นแทรกซ้อนเข้ามร่วมด้วย ส่วนโรครองช้ำจะมีอาการปวดบริเวณจุดเกาะของพังผืดบริเวณฝ่าเท้าเท่านั้น